วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

workshop 4

เรื่องที่ 1

สงวน หอกคำ, ทวนทอง เชาวกีรติพงศ์ และ ปาจรีย์ ผลประเสริฐ.  2557.  กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง.  วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม – กันยายน 2557, หน้า 95-105.กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิค ในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง Strategy Development for Internal Quality Assurance of Technical Colleges in the Lower Northern Region

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพ

ภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง และ 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิเคราะห์เอกสาร ใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการ การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และใช้แบบประเมิน กลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายใน พบว่า มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพ

ภายใน และมีการใช้มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษา ส่วนปัญหา พบว่าบุคลากรไม่ใส่ใจในการดำเนินงานตามภาระงานปกติด้วยวงจรคุณภาพ PDCA และบุคลากรในสถานศึกษาไม่สามารถเชื่อมโยงงานในหน้าที่เข้ากับตัวบ่งชี้ของมาตรฐานการประกันคุณภาพ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพภายใน ด้านจุดแข็ง ผู้บริหารมีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ด้านจุดอ่อน สถานศึกษาจัดระบบสารสนเทศจัดเก็บเอกสารข้อมูลต่าง ๆ ไม่เชื่อมโยงกัน ด้านโอกาส สถานประกอบการมีความต้องการแรงงานด้านอาชีวศึกษาอย่างต่อเนื่อง ด้านภาวะคุกคาม สังคมบางส่วนฝังใจในภาพพจน์ที่ไม่ดีของนักเรียนอาชีวะที่ปรากฏตามสื่อต่าง ๆ

2. กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง

ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 3 พันธกิจ 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ 3 เป้าประสงค์ 7 กลยุทธ์ 32 มาตรการ และ 60

ตัวชี้วัด

3. ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือ

ตอนล่าง พบว่า วิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นกลยุทธ์ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ มาตรการ และตัวชี้วัด มีความสอดคล้องความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมาก และมากที่สุด

เรื่องที่ 2

พันทิพย์ รัตนราช.  2558.  การพัฒนาแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา เพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก.  วารสารปัญญาภิวัฒน์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2558.  หน้า 182-194การพัฒนาแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการอาชีวศึกษา เพื่อการ ประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขนาดเล็ก DEVELOPING VOCATIONAL EDUCATION STANDARDS PRACTICES FOR INTERNAL QUALITY ASSURANCE OF SMALL VOCATIONAL COLLEGES

บทคัดย่อ การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติตามมาตรฐานการอาชีวศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาขนาดเล็ก และเพื่อประเมินประสิทธิผลของแนวปฏิบัติฯ ภายหลังการนำไปใช้ในสถานศึกษาแล้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรวิทยาลัยการอาชีพอัมพวา จำำนวน 24 คน และบุคลากร วิทยาลัยสารพัดช่าง สมุทรสงคราม จำนวน 19 คน การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1: R1 การวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2: D1 การสร้างร่างแนวปฏิบัติฯ ระยะที่ 3: R2 การนำแนวปฏิบัติฯ ไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง ระยะที่ 4 D2 การสร้างแนวปฏิบัติฯ ที่สมบูรณ์ ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test ผล การวิจัยจากแบบสอบถาม พบว่า ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยระดับมาก ด้านลดความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายมีค่าเฉลี่ย มากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านการบรรลุเป้าหมาย และด้านความพึงพอใจ ตามลำดับ เมื่อพิจารณา เป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการประกันคุณภาพช่วยลด/ป้องกัน/ขจัด ความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายด้านการบริหารจัดการ รองลงมา คือ การนำแนวปฏิบัติฯ ไปใช้ในการประกันคุณภาพ จะช่วยลด/ป้องกัน/ขจัดความเสี่ยงในการบรรลุเป้าหมายด้านการบริการวิชาการและวิชาชีพ ได้ทดสอบสมมติฐานด้วย สถิติ t-test เพื่อหาความแตกต่างค่าเฉลี่ยของทั้งสองสถานศึกษา สรุปว่า ด้านความพึงพอใจของสถานศึกษาทั้งสอง แห่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และผลจากการสัมภาษณ์มีข้อสรุปที่สอดคล้องกัน คือ แนวปฏิบัติ ช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการประกันคุณภาพภายในมากกว่าร้อยละ 80 

เรื่องที่ 3

วรรณภา พิพัฒน์ธนวงศ์ และ ภัทรานิษฐ์ จองแก.  2560.  การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่.  Veridian E-Journal, มหาวิทยาลัยศิลปากร.  ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม – เมษายน 2560, หน้า 1282-1294.https://drive.google.com/drive/folders/1o2U1ohbmIdp-LREf0d17K_K5yyNI5Xalการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของบุคลากร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่* The Operational Participation of Personnel in the Internal Quality Assurance Performance of Boromarajonani College of Nursing, Chiang Mai

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร และเพื่อนาผลการศึกษาการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาไปเป็นแนวทางวางกลยุทธ์ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาและพัฒนาปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่ โดยการเก็บข้อมูลจากอาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่จริง จานวน ๕๕ คน ใช้แบบสอบถามร่วมกับการศึกษาเอกสารวิเคราะห์องค์กรที่เกี่ยวข้องเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ๒๕๕๖ สถิติที่ใช้วิเคราะห์แบบสอบถามอการแจกแจง ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเอกสารรายงานที่เกี่ยวข้องใช้การวิเคราะห์อหาผลการวิจัยพบว่า ระดับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรภาพรวมอยู่ในระดับดี (μ = ๓.๙๔) โดยด้านการควบคุมคุณภาพภายใน ด้านการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา และด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับดีทุกด้านเช่นกัน (μ = ๓.๙๔, ๔.๐๐ และ ๓.๙๘ ตามลำดับ)พบปัจจัยสนับสนุนที่ควรพิจารณาประกอบการวางกลยุทธ์ส่งเสริมบุคลากรและองค์กรเพื่อสู่เป้าหมายการประกันคุณภาพศึกษาในระดับดีมากยิ่งขึ้น ดังนี้ ปัจจัยภายใน ได้แก่ วิทยาลัยเป็นสถาบันที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในด้านการผลิตบุคลากรทางการพยาบาลเพื่อรองรับระบบสุขภาพชุมชน มีคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญมีงบประมาณ และโครงสร้างพื้นฐานอาคารสถานที่ ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ และวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษาเพียงพอส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ สถานที่ตั้งอยู่ในเมืองที่มีความเจริญ มีเครือข่ายทางวิชาการต่าง ๆ ตลอดจนแหล่งฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาจานวนมาก ทาให้มีการแบ่งปันการใช้ทรัพยากรด้านต่าง ๆ จากองค์กรภายนอกเป็นการลดต้นทุน ผลจากวิเคราะห์ข้อมูลองค์กรของวิทยาลัยฯ ร่วมกับผลการวิจัยครั้งนี้ถูกนามาพิจารณาวางกลยุทธ์เชิงรับ คือ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติของบุคลากรเพื่อพัฒนาให้การประกันคุณภาพการศึกษา ด้านการควบคุมคุณภาพภายใน ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษา และด้านการตรวจสอบคุณภาพการศึกษาให้อยู่ในระดับดีมากทุกด้าน และกลยุทธ์เชิงรุก คือ พัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงเพื่อการแข่งขันในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และมุ่งเน้นการศึกษาความต้องการของสถานบริการด้านสุขภาพ แหล่งรองรับการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษา และรองรับบุคลากรเข้าทางานทั้งภายในและภายนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อตอบสนองปัจจัยด้านผู้รับบริการและความคาดหวังให้ครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งประโยชน์จากผลการวิจัยนี้หากนากลยุทธ์ทั้งเชิงรับและเชิงรุกโดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรในทุกกระบวนการไปปรับใช้อย่างจริงจัง คาดว่าจะส่งผลให้การพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยฯประสบความสาเร็จตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พาชมวิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

 You Tube พาชมวิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์