วันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

 

การดำเนินงานเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ของสถาบันการอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพมหานคร
Internal Quality Assurance Implementation in Vocational Institute in Bangkok
ชื่อนิสิตสุภกิจ เทียนถาวร
Supakit Teantaworn
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาดร ผดุงชัย ภู่พัฒน์ ดร คมศร วงษ์รักษา
Dr Phadungchai Pupat Dr Komsorn Wongraksa
ชื่อสถาบันสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. บัณฑิตวิทยาลัย
King Mongkuts Institute of Technology Ladkrabang. Bangkok (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม (หลักสูตรและการสอนอาชีวศึกษา)
Master. Industrial Education (Vocational Curriculum and Instruction)
ปีที่จบการศึกษา2545
บทคัดย่อ(ไทย)~bการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงาน เกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน~b สถานศึกษา ของสถาบันการอาชีวศึกษา เขตกรุงเทพ มหานคร และกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครู อาจารย์ สถาบันการอาชีวศึกษา 29 สถานศึกษา มีจำนวนทั้งสิ้น 320 คน แบบสอบ
ชื่อวิทยานิพนธ์ศึกษาสภาพการปฏิบัติและปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา~b
A Study of Internal Quality Assurance Problems in Industrial and Community Education Colleges in the Central Region Group, Vocational Education Deparment, Ministry of Education.
ชื่อนิสิตสมมนา สุวรรณนที
Sommana Suwanatee
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาดร. คมศร วงษ์รักษารศ. หรรษา ศิวรักษ์ผศ. สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์
Dr. Komsorn WongruksaAsso.Prof. Hansa SiwarukAsst.Prof. Suporn Limboriboon
ชื่อสถาบันมหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. บัณฑิตวิทยาลัย
Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Bangkok (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ครุศาสตร์ (การบริหารการศึกษา)
Not Available
ปีที่จบการศึกษา2545
บทคัดย่อ(ไทย)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา 2. ปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา 3. สภาพการปฏิบัติและปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ระหว่างตัวแปรสถานภาพ เพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพกลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน 2. ปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพกลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน 3. พิจารณาตามตัวแปรที่ศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้บริหารและครู-อาจารย์มีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้ง 4 ด้าน อาจารย์ชายและอาจารย์หญิงมีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านการวางแผน การดำเนินการตามแผน และการตรวจสอบประเมินผล ส่วนด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงานอาจารย์ชายและอาจารย์หญิง มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจารย์ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และอาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านการวางแผน ส่วนด้านการตรวจสอบประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้พบว่าด้านการดำเนินการตามแผนและการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาตามตัวแปรสถานภาพ เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ



ชื่อวิทยานิพนธ์ศึกษาสภาพการปฏิบัติและปัญหาด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา~b
A Study of Internal Quality Assurance Problems in Industrial and Community Education Colleges in the Central Region Group, Vocational Education Deparment, Ministry of Education.
ชื่อนิสิตสมมนา สุวรรณนที
Sommana Suwanatee
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาดร. คมศร วงษ์รักษารศ. หรรษา ศิวรักษ์ผศ. สุภรณ์ ลิ้มบริบูรณ์
Dr. Komsorn WongruksaAsso.Prof. Hansa SiwarukAsst.Prof. Suporn Limboriboon
ชื่อสถาบันมหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. บัณฑิตวิทยาลัย
Bansomdejchaopraya Rajabhat University. Bangkok (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ครุศาสตร์ (การบริหารการศึกษา)
Not Available
ปีที่จบการศึกษา2545
บทคัดย่อ(ไทย)การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา 2. ปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา 3. สภาพการปฏิบัติและปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดกองการศึกษาอาชีพ กลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา ระหว่างตัวแปรสถานภาพ เพศ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพกลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน 2. ปัญหาจากการปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดกองการศึกษาอาชีพกลุ่มสถานศึกษาภาคกลาง กรมอาชีวศึกษา อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 4 ด้าน 3. พิจารณาตามตัวแปรที่ศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้บริหารและครู-อาจารย์มีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ทั้ง 4 ด้าน อาจารย์ชายและอาจารย์หญิงมีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านการวางแผน การดำเนินการตามแผน และการตรวจสอบประเมินผล ส่วนด้านการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงานอาจารย์ชายและอาจารย์หญิง มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อาจารย์ที่มีระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และอาจารย์ที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพปฏิบัติด้านกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในด้านการวางแผน ส่วนด้านการตรวจสอบประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้พบว่าด้านการดำเนินการตามแผนและการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงานแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อพิจารณาตามตัวแปรสถานภาพ เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน พบว่า มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาจากการปฏิบัติตามกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ชื่อวิทยานิพนธ์การศึกษารูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Study of an Internal Quality Assurance Model in the Northeastern Technical Colleges
ชื่อนิสิตเสาร์วันดี ผ่านเมือง
Saowandee Phanmuang
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษารศ ดร สุมาลี จันทร์ชลอ อ มงคล ไชยศรี
Asso Prof Dr Sumalee Chanchalor Mr Mongkol Chaisri
ชื่อสถาบันมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย
King Mongkuts University of Technology Thonburi. Bangkok (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชาวิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. ครุศาสตร์อุตสาหกรรม (ครุศาสตร์ไฟฟ้า)
Master. Science in Industrial Education (Electrical Technology Education)
ปีที่จบการศึกษา2544
บทคัดย่อ(ไทย)วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพและรูปแบบการดำเนินงานด้าน การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคนิค เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประชา กรคือ คณะผู้บริหารและครูอาจารย์ในวิทยาลัยเทคนิค เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 29 แห่งรวมทั้งสิ้น 1,913 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้มาจากการแบ่งเขต การศึกษาและสุ่มตัวอย่างง่ายจากวิทยาลัยเทคนิค เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14 แห่ง จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง และ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยง เบนมาตรฐานวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for window (Statistical Package for Social Sciences) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มาจากวิทยาลัยเทคนิคขนาดใหญ่ เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 25-35 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งเป็นผู้สอน ประสบการณ์ด้านการประ กันคุณภาพการศึกษาคือได้อ่านเอกสาร/ตำราที่เกี่ยวข้อง สภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สถานศึกษาส่วนใหญ่มีการดำเนิน งานทุกด้านเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาส่วนใหญ่ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ระบบ งานภายในสถานศึกษา กรรมการประกันคุณภาพภายใน บุคลากรภายในสถานศึกษา ความเข้าใจ ในระบบประกันคุณภาพ และรูปแบบการประกันสุขภาพ รูปแบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของวิทยาลัยเทคนิคเกี่ยวกับโครงสร้าง การประกันคุณภาพภายใน ส่วนใหญ่เห็นว่าควรมีโครงสร้างแบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้าน ปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงาน นโยบาย บุคลากร สภาพแวดล้อม เครื่อง มืออุปกรณ์ด้านกระบวนการ ได้แก่ การเรียนการสอน การบริหาร การประกันคุณภาพ และด้าน ผลลัพธ์ ได้แก่ ผลการจัดการเรียนการสอน การประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน การ บริหารจัดการ การให้บริการทางวิชาการ รูปแบบเกี่ยวกับการดำเนินงานส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าควรมี 6 ขั้นตอน ได้แก่ การ เตรียมความพร้อมของบุคลากร วางแผนการปฏิบัติงาน ดำเนินงานตามแผน ตรวจสอบประเมินผล นำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน และจัดทำรายงานการประเมินตนเองหรือรายงานประจำปี รูปแบบเกี่ยวกับมาตรฐาน / องค์ประกอบและตัวบ่งชี้คุณภาพ ส่วนใหญ่เห็นด้วย ว่าควรมีมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่มาตรฐานด้านผู้เรียน 13 มาตรฐาน 46 ตัวบ่งชี้ ด้าน กระบวนการ 7 มาตรฐาน 39 ตัวบ่งชี้ ละด้านปัจจัย 11 มาตรฐาน 35 ตัวบ่งชี้ รวมเป็น 120 ตัวบ่งชี้ สถานศึกษาส่วนมากมีการดำเนินงานประกันคุณภาพโดยมีหลักฐาน ด้านการกำหนด นโยบาย วัตถุประสงค์ ตัวบ่งชี้ กรอบการประเมิน เกณฑ์และวิธีการวัดผลเกี่ยวกับการประกัน คุณภาพ แผนพัฒนางานประกันคุณภาพภายใน ให้ความรู้กับบุคลากรในการทำประกันคุณภาพ และทำรายงานประเมินตนเอง และสถานศึกษาส่วนมากมีการดำเนินงานแต่ไม่มีหลักฐานด้าน การกำหนดภาระงานและความรับผิดชอบของบุคลากรในการทำประกันคุณภาพภายใน กำหนดขอบ เขตการดำเนินงาน / ขั้นตอนการทำกิจกรรมเกี่ยวกับการทำประกันคุณภาพ ศึกษาสภาพและ ผลการดำเนินงานของสถานศึกษา พัฒนากระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และไม่มี การดำเนินงานด้าน แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเข้าร่วมในคณะประกันคุณภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พาชมวิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์

 You Tube พาชมวิทยาลัยประมงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์