1
การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
THE PARTICIPATION OF TEACHERS IN QUALITY ASSURANCE IN THE BASIC EDUCATION SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI
Name: ประสาร แบงเพชร
Organization : โรงเรียนบ้านห้วยหิน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
ThaSH: ก
Classification :.DDC: 370.2
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจำแนกตามระดับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 และช่วงชั้นที่ 3 - 4 และศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นครูผู้สอนซึ่งทำหน้าที่ครูวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี จำนวน 197 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) ชนิด 3 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น (reliability) เท่ากับ 0.974 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และทดสอบสมมติฐานโดยค่าที (t-test) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมของครู ในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานในภาพรวมทั้ง 6 ขั้นตอนอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยดังนี้ ขั้นการดำเนินงานตามแผน ขั้นการวางแผน ขั้นการเตรียมการ ขั้นการจัดทำรายงานประจำปี ขั้นการตรวจสอบและประเมินผล และขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของครู ในการดำเนินการประกันคุณภาพ ภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามระดับช่วงชั้นที่ 1- 2 และช่วงชั้นที่ 3- 4 ไม่แตกต่างกัน 3. สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา การมีส่วนร่วมของครูในการดำเนินการ ประกันคุณภาพภายในที่พบมากที่สุดในแต่ละขั้นเรียงตามลำดับความถี่ 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัญหา ในขั้นการจัดทำรายงานประจำปี คือ ขาดข้อมูลสารสนเทศในการจัดทำรายงานประจำปี แก้ไขโดยการจัดให้มีการรวบรวมผลการประเมินคุณภาพการศึกษา รองลงมาเป็นปัญหาในขั้นการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน คือ มักเป็นหน้าที่ของผู้บริหารและครูวิชาการเท่านั้น แก้ไขโดยส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน และปัญหาอันดับที่ 3 เป็นปัญหาในขั้นการวางแผน คือ ขาดการวิเคราะห์ข้อมูลในการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แก้ไขโดยคณะครูร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลและสารสนเทศของสถานศึกษา
2. การประกันคุณภาพการศึกษาโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 5
EDUCATION QUALITY ASSURANCE IN THE SCHOOLS UNDER THE MUNICIPALITY REGION 5
Name: วินัย เดชรัตนสุวรรณ์
Organization : โรงเรียนเทศบาล 4 (บ้านชุกกุ่ม) จ.กาญจนบุรี
ThaSH: โรงเรียนสังกัดเทศบาล -- การประกันคุณภาพการศึกษา
Classification :.DDC: 371.201
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 5 เปรียบเทียบผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 5 จำแนกตามขนาดของโรงเรียนและศึกษาปัญหา และแนวทางการแก้ปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 54 คน และจากพนักงานครู เทศบาลผู้สอนจำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าสถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่า F (F-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญที่ .05 โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS/ for Windows Version 10.0 ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 5 ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล ทั้ง 3 ด้าน คือ มาตรฐานการศึกษาด้านปัจจัย มาตรฐานการศึกษาด้านกระบวนการ และมาตรฐานการศึกษาด้านผลผลิตอยู่ในระดับปานกลาง 2. เปรียบเทียบผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล เขตการศึกษา 5 ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล ทั้ง 3 ด้านตามขนาดโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ พบว่า มีผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มาตรฐานการศึกษาด้านปัจจัย โรงเรียนขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ มีผลการดำเนินการตามตัวบ่งชี้ที่ 1 ด้านผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ในการจัดการศึกษาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาล พบว่า มาตรฐานการศึกษาด้านปัจจัย พบปัญหาการขาดแคลนครูในสาขาวิชาหลัก จำนวนนักเรียนต่อห้องมากกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ครูมีงานอื่นที่ต้องปฏิบัตินอกจากงานสอนเป็นจำนวนมาก บุคลากรในโรงเรียนขาดความสามัคคี มาตรฐานการศึกษาด้านกระบวนการ พบว่า บุคลากรในโรงเรียนยังไม่เข้าใจระบบการประกันคุณภาพการศึกษา โรงเรียนจัดข้อมูลสารสนเทศ ยังไม่สมบูรณ์ คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษากับ โรงเรียนน้อย โรงเรียนมีการนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย มาตรฐานการศึกษาด้านผลผลิต พบว่า นักเรียนขาดความรับผิดชอบ ไม่รักการอ่าน ขาดคุณธรรม จริยธรรม และนักเรียนไม่สามารถที่จะคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และใช้เหตุผลได้
33.การประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี
THE EDUCATIONAL QUALITY ASSURANCE OF LEVEL 1 - 2 SCHOOLS UNDER THE EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE SUPHAN BURI
Name: รัตน์มณี รัตนปกรณ์
ThaSH: ก
Classification :.DDC: 370.2
Abstract: ในการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานและเปรียบเทียบการดำเนินงานรวมทั้งปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 ที่ได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอก และยังไม่ได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยครูวิชาการที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 จำนวน 197 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale)แบบสำรวจรายการ(check list) และแบบคำถามปลายเปิด ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (reliability) 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S) และการทดสอบแบบที (t-test) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows version 10.0 ผลการวิจัยพบว่า 1. การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี ที่ได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอก และที่ยังไม่ได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอกในภาพรวมทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ย คือ มาตรฐานด้านกระบวนการ มาตรฐานด้านปัจจัย และมาตรฐานด้านผู้เรียน แต่ค่าเฉลี่ยผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่ได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอก สูงกว่าสถานศึกษาที่ยังไม่ได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอกทั้งใน ภาพรวมและรายด้าน 2. เปรียบเทียบผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 ที่ได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอกแล้ว และยังไม่ได้รับการประเมินคุณภาพจากภายนอกทั้งในภาพรวมและเป็นรายด้านทั้ง 3 ด้าน มีผลการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3. ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานช่วงชั้นที่ 1 - 2 ในภาพรวมที่พบมากที่สุดในแต่ละด้านมีดังนี้ มาตรฐานการศึกษาด้านผู้เรียน ปัญหาที่พบ คือ นักเรียนขาดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปเป็นความคิดรวบยอดอย่างเป็นกระบวนการ มีแนวทางการแก้ไข คือ ครูต้องเอาใจใส่ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด พัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมส่งเสริมให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มาตรฐานการศึกษาด้านกระบวนการ ปัญหาที่พบคือ การบริหารการศึกษาไม่เป็นระบบ ไม่เป็นไปตามแผน และผู้บริหารมีการประชุมมากเกินไป แนวทางแก้ไข คือ ให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนในการบริหารงานในสถานศึกษา โดยผู้บริหารนิเทศ กำกับ ติดตามอย่างสม่ำเสมอ ส่วนมาตรฐานการศึกษาด้านปัจจัย มีปัญหา คือสถานศึกษาขาดสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย มีแนวทางแก้ไขคือ หน่วยงานต้นสังกัดจัดสรร งบประมาณให้ จัดอบรมครูให้สามารถผลิตสื่อและนวัตกรรมที่เป็นอิเล็คทรอนิกส์ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น